ASPIRATIONLAW
international relation stuff!!!live in asdang road for year.

i

 

 

home

ช่วงนี้มีประชุมขอความเห็นขอความร่วมมือเข้ามามาก จากทางกระทรวงต่างประเทศเขาเป็นทูตเจรจาความผ่านมาทางภาครัฐของเรา เพราะผลงานภาครัฐและเอกชนของเราสร้างผลงานเก่าๆไว้ดี ในปีที่ผ่านมา ปีต่อๆไปเขาก็หวังให้เราเป็นที่พึ่งต่อประเทศที่เขาลำบากกว่าเราได้ลืมตาอ้าปากบ้าง ความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างประเทศของเราและระหว่างประเทศต่างๆหลั่งไหลเข้ามามากมาย รวมไปถึงการที่เราจะต้องให้ความช่วยเหลือหรือต้องรับที่จะต้องช่วยเหลือประเทศที่กำลังพัฒนาทั้งหลายด้วย นั่นแสดงถึงความมั่นใจในความสามารถด้านการพัฒนาของประเทศของเราในการเป็นผู้นำอาเชี่ยนมุมล่างข้างตะวันออกแห่งนี้ ว่าเราสามารถจะเข้าผูกพันข้อตกลงต่างๆ ที่มหามิตร และมิตรประเทศนานาประสงค์จะให้เราออกหน้าในการให้ความร่วมมือด้านวิชาการและอื่นๆให้แก่ประเทศอื่นๆที่ลำบากกว่า กรมของเรานั้นเป็นสุดยอดของงานส่งเสริมมนุษยธรรม และคุณธรรมความดี สร้างพลังและภูมิต้านทานความไม่ดีให้แก่ชุมชน แต่ไม่ค่อยอยากจะรับงานที่ผูกพันมากๆเพราะเรายังไม่พร้อมเรื่องทรัพยากรบุคคล การปรับให้องค์กรไปสู้ความคิดกว้างไกล ต้องปรับนิสัยคนจำนวนมาก ทั้งวิสัยทัศน์และการปฎิบัติตัวทั้งวาจา ใจ โดยใช้การให้รางวัลที่ไม่ใช่การคอรัปชั่นเป็นขบวนการเป็นเครื่องล่อ และต้องมีการลงโทษอย่างจริงจังเห็นผลเป็นเครืองบังคับกับพวกที่ยักยอกกันเป็นกระบวนการอย่างจริงจังและทันที ไม่งั้นก็เหิมเกริม ทำกันอยู่อย่างนั้น แม้นักพัฒนาชุมชนจะเป็นยอดนักวิทยากรกระบวนการ นักผลักดัน นักขับเคลื่อนมวลชน ไปสู่วิถีทางอันชอบ และหลุดพ้นจากความยากจนได้อย่างแน่นอน หากไม่มีการสนับสนุนจากงบประมาณและเงินจากภาครัฐและเอกชน รวมทั้งความรู้การบูรณาการที่ประสานจากหน่วยงานอื่น ก็จะขับเคลื่อนไปโดยลำพังไม่ได้ แตเมื่อมีข้อผูกพันมาเรา่ก็เกรงการเข้าไปผูกพันในระดับที่ถูกบังคับให้ช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมอย่างเต็มรูปแบบ โดยที่คนของเรายังไม่พร้อม ดังนั้นคนของเราต้องอยู่ดีกินดีมีความสุขได้รับการอบรมความรู้แน่น นั่นเลยพร้อมสู้ และบุคคลากรรุ่นใหม่เข้ามาต้องไม่มีความคิดหรือถูกบังคับให้คิดและกระทำการเกี่ยวกับการยักยอกฉ้อโกงว่าเป็นสิ่งที่ดีไม่ควรละอายที่จะทำ ี เพราะน้องรุ่นใหม่ต้องมีรายได้ดีแล้วบทลงโทษหนัก คนที่ทำประจำก็รับโทษไม่เหิมเกริม ว่าคนที่ไม่ เอาเงินยักยอก หรือไม่ร่วมมือเป็นกระบวนการ ต้องถูกกันออกไปให้พ้นทาง สะดวกต่อการทำหลักฐานใหม่เพื่อปกปิดข้อเท็จจริงภายหลังอะไรแบบนี้ งานทุกอย่างต้องเอาพรรคพวกตนเองไปร่วมด้วยช่วยกัน งานมันถึงจะเดินคล่อง เพื่อไม่ให้มีพยานบุคคล ยืนยันเอกสารก์น่าจะเป็นการกล่าวหากันไปร้อยแปดเพราะเรื่องพวกนี้ ต้องร่วมกันปราบปราม มันเข้าไปในกระดูกเสียยิ่งกว่าการปราบยาเสพติดเสียอีก เนื่องจาก เรื่องการบริหารจัดการในพื้นที่ชนบทของเราเองบางส่วนยังไม่สามารถทำได้อย่างเต็มที่ตามหลักธรรมาภิบาล ทำให้ขาดการพัฒนาที่ต่อเนื่องและเต็มมือ ความร่วมมือจากทุนของเอกชนหรือภาษีจากการเรียกเก็ยอย่างเป็นธรรมเป็นสิิ่งที่จะช่วยคนที่ด้อยโอกาส จากผู้ที่มีมากกว่าและมากมายให้คงอยู่ได้ หากภาครัฐคงทู่ซี้เอาแต่งบประมาณแผ่นดินลงไปหนุนในพื้นที่ชนบท โดยไม่ เอาส่วนที่เป็นภาษีหรือการบริจาคหรือการแบ่งปันจากภาคเอกชนในพื้นที่นั้นๆลงไปช่วยคนที่ลำบากในพื้นที่ตรงๆด้วย บ้านเมืองก็ขาดสำนึก โดยเฉพาะในส่วนของของผู้มีอันจะกินในพื้นที่นั้นๆ ที่ประกาศแต่ว่ารัฐที่ดำรงความเป็นรัฐต่อไปต้องเอางบลงพื้นที่เยอะๆ แต่ไม่เห็นเคยประกาศเลยว่าหากมีรัฐบาลที่เข้มแข็งไม่โค่นง่ายมีพลัง ฉันจะแบ่งปันครึ่งหนึ่งของรายได้ของเงินปันผลของมูลค่าหุ้น ของโบนัสของฉันรวบรวมส่งตรงทันทีให้ถึงมือประชาชนที่ด้อยโอกาสให้มีโอกาสทัดเทียมกันทั้งประเทศ อย่างที่ท่านไม้บรรทัดว่าที่คนรวยต่างหากเล่าที่ต้องแบ่งปันทุกรูปแบบและที่แน่แน่รัฐต้องมีอำนาจบังคับเก็บในอัตราที่เป็นธรรม ไม่ใช่เปิดช่องให้ผู้มีอันจะกินในพื้นที่ให้เบียดเบียนผู้ยากไร้ในพื้นที่เช่นนี้ เมือเมืองวุ่นวายประเทศรอบๆเขาก็รับไปหมด นักท่องเีท่ียวไม่มา สินค้าค้าขายไม่มีใครอยากค้ากะเรา ความร่วมมือระหว่างประเทศก็ชงักไปด้วย ประเทศที่เขาเป็นประชาธิปไตย เขาก็มีรัฐบาลอยู่ครบเวลา อำนาจสูงสุดสมดุลกันอย่างดีเยี่ยม ทั้งนิติ ตุลาการ บริหาร มีการถ่วงดุลกันเป็นเลิศ กว่าจะได้ผู้นำทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับประเทศเข้ามามีการคัดสรรสรรหาคนดีเยี่ยมเข้ามาให้ประชาชนเลือกกันใช้เวลาล่วงหน้ากันเป็นปีกว่าจะได้มาสักคน ไม่ใช่ประกาศโครมเลิกอีกเดือนหรืออีกสัปดาห์เลือกใหม่อะไรอย่างนี้ หาเสียงกันมันต้อง6ถึง12เดือนขึ้นไป เพื่อให้เขามานั่งทำงานให้ครบเวลาตามธรรมนูญประเทศ รัฐบาลในขณะที่รอการเลือกตั้งเมื่อครบเทอมก็ไม่ใช่ว่าจะได้เปรียบอะไรเพื่อวิธีการเลือกตั้งและการซาวเสียงประชาชนว่าชอบใครอยากได้ใครมาบริหารประเทศ เขาติดตามข่าวกันครึกครื้นใช้วิธีการทางสถิติต่างๆ การประชาสัมพันธ์ การสื่อสารมวลชน การโฆษณา อย่างดุเดือด การสร้างแคมเปญ การดิสเครดิต ต่างๆ โดยไม่มีความรุนแรงมีเหตุมีผล โต้เถียง โ โต้วาทีกันซึ่งหน้ า ั กลวิธีการสร้างความมั่นใจและการถล่มคู่ต่อสู้ทางการเมืองใช้กลยุทธทุกรูปแบบ สร้างสรร และให้เกียรติผู้ที่สร้างแคมเปญ นั้นๆ ไม่ใช่ว่า คิดแคมเปญอะไรไม่ออก ก็ไม่ต้องไปหาที่ไหนหาเอาแถวๆ พวกที่เป็นตัวแทนชาวรากหญ้านี่แหละ โดนใจดี แสวงประโยชน์จากรากหญ้าในพื้นที่ไม่พอแล้ว ตัวแทนชาวรากหญ้าเป็นปากเสียงให้รากหญ้าก็โดนดูดความคิดไปใช้โปรโมทตัวเองสยบคู่แข่งเสียด้วย รักชาวบ้านให้มากๆ อย่ามาบ้าตามพวกนายทุนเจ้าสัวทั้งหลายที่ออกมาประกาศโครมๆให้ถมงบประมาณลงรากหญ้ามากๆ แต่ฉันช่วยนิดหน่วยสร้างภาพพจน์อะไรอย่างนี้ สิิ่งที่รัฐต้องทำรีบและด่วนคือทำอย่างไรให้มีกฏหมายมาบังคับให้ผู้มีรายได้สูงในพื้นที่บังคับจ่ายตรงให้ฝ่ายบริหารและภาครัฐในพื้นที่ให้เพียงพอกับที่ตนได้สมประโยชน์ได้กำไรมหาศาลในพื้นที่นั้น ยิ่งบริษัทมหาชนใหญ่ๆนั้น ต้องสร้างกฏหมายไปบังคับจากผู้ถือหุ้น ไม่เพียงแค่สร้างจิตสำนึกของการให้และการสร้างกระแสสังคมว่าต้องให้รากหญ้า แต่ต้องให้ในจำนวนสูงพอ อาจเป็นครึ่งหนึ่งของกำไรและปันผลต่อหุ้นด้วย ไม่งั้นจะเป็นการสร้างกระแสสร้างภาพ เพื่อเป็นการสร้างความนิยมในการให้เพื่อสังคมเล็กน้อยแต่ยี่ห้อของตนได้ความนิยมเป็นเงินกำไรมหาศาลแล้วก็ไม่ปันส่วนที่ได้มหาศาลกลับมาให้รากหญ้าเสียครึ่งหนึ่งตามกฏหมายอย่างนี้ได้ไหม มาทำสาธารณูปโภคให้ดีทั่งชบบทไทย การคมนาคมขนส่งยอดเยี่ยม ไม่ใช่กำไรมหาศาลลักลอบไปฝากไว้ตามบ้านเมืองเกาะเล็กเกาะน้อยที่อ้างว่าไม่เอาภาษีเชิญขนเงินมาเลย เงินสะอาดเงินสกปรกไม่เคยสนใจ อะไรแบบนี้ ในหลวงต้องออกมาเตือนกลัวประเทศล่มจม อะไรหนอเนี่ย เราเป็นพี่ใหญในภูมิภาค่ แต่ใจเราต้องถึง ทั้งภาครัฐเอกชน ไม่ใช่ให้ภาครัฐเดินหน้าชน แต่ภาคเอกชนขนเงินออกนอกประเทศ ไม่มีแบ่งบริจาคจ่ายภาษีให้ภาครัฐสักกึ่งหนึ่งก้อย่างดี อย่างนี้ก้เป็นสังคมบ้านนอกเมืองกรุงไปไม่จบสิ้น แบ่งฝ่ายเป็นสิงห์เหนือเสือใต้อยู่อย่างนี้ เสือสองตัวอยู่ถ้ำเดียวกันหน่อยนะเพื่อประเทศชาติของเรา ไชโยประเทศไทย!!!

very strange thing that many countries hope in nice cooperate from our country...special in role and responsibility of our depart CDD...around south asia or uk or USA or japan..or UN ..or lol..in reason of many index and issues really special in humanity right and lower poverty...but the reason that ..how we can support all offer and request still on condition of proper and readiness of our human capital also..if we still deep inside old practical and think about dictator in block of strange keep inside old cultural organization like before ...we cannot take your open mind for outside innovation democrasy style but still love in dictate style of central power,,,u still sink into deepest of dark sea of new dumb subconciouse...u need not to be drawn...right?...how we help ourselves from donot belief in your potential...u can do everything in CDD scope for this nations and other poverty requests also...but donot forget the good governance..that take u to the right and acceptance from the world...that 's all!! giggy

uncr

 

 

 

สิ่งที่ส่งมาด้วย 2
ร่างระเบียบวาระการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยสามัญ สมัยที่ 63  ในประเด็น ด้าน เศรษฐกิจ การพัฒนา  สิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี
หัวข้อ บี . การส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนและการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับการประชุมสมัชชาสหประชาชาติในเรื่องเกี่ยวกับ

  1. การกีฬาเพื่อสันติและการพัฒนา
  2. ในปี 2001-2010 : ได้แก่ ประเด็นเรื่องการหวนกลับของการแพร่ระบาดของโรคมาเลเรียในประเทศกำลังพัฒนา  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เน้นประเทศในทวีปอาฟริกา
  3. การประเมินผลการบูรณาการและความร่วมรวมกลุ่มกันระหว่างประเทศ และการติดตามผลต่อเนื่องจากการประชุมสัมมนาในหัวข้อหลักโดยสหประชาชาติ  ในด้านเศรษฐกิจ สังคม และในด้านที่เกี่ยวข้อง
  4. เทคโนโลยีเกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารสารสนเทศเพื่อการพัฒนา
  5. ถกประเด็นคำถามเกี่ยวกับนโยบายหลักด้านเศรษฐกิจแบบองค์รวม ได้แก่

( เอ. ) การพัฒนาและการค้าระหว่างประเทศ
( บี. )  ระบบและการพัฒนาการเงินระหว่างประเทศ
( ซี.) การพัฒนาและหนี้นอกระบบ ได้แก่ : เน้นด้านผลกระทบอย่างถาวรต่อปัญหาหนี้สินของประเทศที่กำลังพัฒนา
( ดี. )  เรื่องอื่นทั่วไปที่เกี่ยวข้อง

  1. การติดตามและประเมินผลกระทบ เกี่ยวกับ การประชุมด้านการเงินระดับนานาชาติในเรื่องการพัฒนาระบบการเงิน เมื่อปี 2002 และ การเตรียมการ ประเด็นเพื่อการประชุมล่วงหน้า ในปี 2008
  2. การพัฒนาอย่างต่อเนื่องยั่งยืน ในเรื่องเกี่ยวกับ

( เอ.)  การติดตามผลวาระการดำเนินการ Agenda ที่21 , โปรแกรมความคืบหน้าของประเด็นในวาระ Agenda ที่21  และ และผลกระทบและการตอบรับ ของประเทศที่เข้าร่วมการประชุมระดับโลก  ในประเด็นเกี่ยวกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน
( บี. ) การติดตามและประเมินผล ยุทธศาสตร์หลักกลุ่มชนเผ่าพื้นเมือง โดยจัดให้มี โครงการ โปรแกรมการติดตามการปฎิบัติการ เกี่ยวกับความคืบหน้าของการดำเนินการภายใต้นโยบายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของรัฐที่กำลังพัฒนาที่มีสภาพเป็นเกาะขนาดเล็ก
( ซี.)  ยุทธศาสตร์ระดับนานาชาติในเรื่องเกี่ยวกับการลดปัญหาภัยพิบัติ
( ดี.)  ประเด็นที่เน้นถึงการป้องกันปัญหาโลกและ บรรยากาศร้อน  เพื่อให้เป็นที่ประจักษ์ และตระหนัก แก่ประชากรโลกในรุ่นต่อไป
( อี.) ติดตามการประชุมในระดับนานาชาติ  อันเกี่ยวกับการต่อสู้เพื่อเอาชนะปัญหาความเดือดร้อนในกลุ่มประเทศที่มีความแห้งแล้ง เน้นประเทศในกลุ่มที่เคยเกิดปัญหาดังกล่าวอย่างรุนแรง ด้านความแห้งแล้งและความทุรกันดาร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เน้น กลุ่มประเทศในทวีปอาฟริกา
( เอฟ.)  การจัดการประชุมถกปัญหาเกี่ยวข้องด้านความหลากหลายทางชีวภาพ

จี.) รายงานการประชุมสภาสมัชชาสหประชาชาติ  เน้นเกี่ยวกับโปรแกรมเรื่องเกี่ยวกับองค์กรสหประชาชาติด้านสิ่งแวดล้อม  ในสิบบริบท  its tenth special session
8.  การติดตามผลการดำเนินการการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ      ในเรื่องเกี่ยวกับการตั้งถิ่นฐานของประชาชน ( Habitat II) และในโปรแกรมเกี่ยวกับการตั้งถิ่นฐานของประชาชน ระดับนานาชาติ(  UN - Habitat )
9. ความร่วมมือของการพึ่งพากันในระดับโลกาภิวัตน์ ในประเด็นเกี่ยวกับ
( เอ.)  การส่งเสริมให้มีการพัฒนาบทบาทของสหประชาชาติในความเกี่ยวเนื่องพึ่งพาในระดับ โลก โลกาภิวัตน์
( บี.) การพัฒนาและการอพยพย้ายถิ่นในระดับนานาชาติ
( ซี.)  การพัฒนาและวัฒนธรรม
( ดี .)การป้องกันและการต่อสู้เพื่อเอาชนะปัญหาการคอรัปชั่น ทั้งประเทศต้นตอของกระบวนการ , ประเทศที่มีการส่งต่อ เงินผิดกฎหมายจากประเทศแหล่งต้นทาง และการฟอกเงินเพื่อส่งกลับประเทศดังกล่าว ในรูปของสังหาและอสังหาริมทรัพย์ในรูปแบบต่างๆ   เพื่อประกอบข้อมูลการประชุมการป้องกันและการต่อสู้เพื่อเอาชนะปัญหาการคอรัปชั่นในระดับนานาชาติโดยสหประชาชาติ
( อี.) การบูรณาการกลไกการดำเนินการเพื่อนำไปสู่ทางเศรษฐกิจในระดับโลกแบบบูรณาการระหว่างประเทศต่างๆ
10. กลุ่มประเทศที่มีสถานการณ์พิเศษ
( เอ.)  การประชุมสหประชาชาติ  ในระดับสาม ของกลุ่มประเทศที่มีระดับการพัฒนาที่น้อยที่สุด
( บี. ) การปฎิบัติการพิเศษอันเนื่องด้วยประเทศที่กำลังพัฒนาที่มีลักษณะภูมิประเทศแบบปิด ในเรื่อง ปัญหาและความพึ่งพาที่ประเทศเหล่านั้นต้องการเป็นพิเศษ    : ได้แก่ กระบวนการที่ก่อให้เกิดผลกระทบสืบเนื่องจากการประชุมสหประชาชาติ ของประเทศดังต่อไปนี้  คือ ประเทศที่กำลังพัฒนาที่มีลักษณะภูมิประเทศแบบปิด และ การเปลี่ยนผ่านของประเทศที่กำลังพัฒนา   และ ประเทศที่เป็นตัวกำเนิด donor  และ สถานการณ์ความร่วมมือการส่งผ่านปัญหาในเรื่องเกี่ยวกับการเงินระหว่างประเทศ และการพัฒนากฎหมายธรรมนูญสูงสุดของแต่ละประเทศที่เกี่ยวเนื่องกันระหว่างประเทศนั้นๆ

  1. ประเด็นปัญหาเกี่ยวกับการบรรเทาและลดความยากจน รวมถึงการพัฒนาในด้านอื่นๆ : ได้แก่

( เอ.)  การติดตามการประชุมสหประชาชาติ  ในระดับสอง  เกี่ยวกับการบรรเทาและลดความยากจน ( 2008 – 2017 )
( บี.)  ความร่วมมือในการพัฒนาด้านอุตสาหกรรม

  1. กระบวนการปฎิบัติการระหว่างประเทศในด้านการพัฒนา

หัวข้อ ซี. การพัฒนาของกลุ่มประเทศในทวีปอาฟริกา

  1. การพัฒนาการของกลุ่มพันธมิตรใหม่ของกลุ่มประเทศในทวีปอาฟริกา : ได้แก่ ความคืบหน้าของการประเมินผล และความช่วยเหลือในระดับนานาชาติ เกี่ยวกับ

( เอ.) พันธมิตรใหม่ของกลุ่มประเทศในทวีปอาฟริกา เกี่ยวกับ ความคืบหน้าของการประเมินผล และความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในระดับนานาชาติ
 ( บี.)  ต้นเหตุของความขัดแย้ง และการส่งเสริม ให้เกิดสันติภาพอย่างถาวร และการพัฒนาอย่างยั่งยืนของกลุ่มประเทศในทวีปอาฟริกา

หัวข้อ อี . ผลกระทบต่อการรวมตัวกันของความพยายามและมุ่งมั่นไปสู่มนุษยธรรมของนานาประเทศ

  1. ความแข็งแกร่งของการรวมตัวกันของกลุ่มประเทศต่างๆเกี่ยวกับความสามารถบรรลุไปสู่มนุษยธรรมในระดับนานาชาติ

และ  ปัญหาเกี่ยวเนื่องด้วยการบรรเทาภัยพิบัติ โดยสหประชาชาติ รวมทั้งผลกระทบพิเศษในด้านเศรษฐกิจ อันเนื่องด้วย
( เอ.)  ความแข็งแกร่งของการนำการรวมตัวกันโดย สหประชาชาติ ต่อ กลุ่มประเทศต่างๆ  เกี่ยวกับความสามารถของประเทศนั้นๆ ในการผลักดันให้บรรลุสู่ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมในภาวะฉุกเฉินเร่งด่วน
(  บี.)  ผลกระทบกรณีพิเศษในด้านเศรษฐกิจ ของแต่ละประเทศ หรือแต่ละภูมิภาค

 

 

 

 

 

 

 

เลขที่โครงการ 127/2551

ชื่อโครงการ พร้อมใจกันลุกขึ้นมาต่อสู้กับความยากจน (Stand Up and Take Action)

หน่วยงานรับผิดชอบ กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

1. หลักการและเหตุผล
การขจัดความยากจนและหิวโหยเป็นเป้าหมายแรกของการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ (The Milennium Development Goals : MDGs.) โดยในปี 2550 องค์การสหประชาชาติได้เชิญชวนประชาชนมากกว่า 43 ล้านคนทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยได้เข้าร่วมโครงการฯ และให้คำมั่นสัญญาในความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันเพื่อร่วมกันขจัดความยากจนให้หมดสิ้นไปภายในปี 2558 สำหรับประเทศไทยมีหลายหน่วยงานรวมทั้งกระทรวงมหาดไทยเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว ในปี 2551 นับเป็นครึ่งทางของ MDGs. องค์การสหประชาชาติ ได้เชิญกระทรวงมหาดไทยให้เป็นหน่วยงานหลักในการรณรงค์ให้คนไทยพร้อมใจกัน ลุกขึ้นยืน เพื่อช่วยกันขจัดความยากจน

กระทรวงมหาดไทยได้มอบหมายให้กรมการพัฒนาชุมชนเป็นแกนประสาน การดำเนินงานฯ โดยในระหว่างวันที่ 17 – 19 ตุลาคม นี้ จะเป็นห้วงเวลาที่ เราคนไทยจะพร้อมใจกันลุกขึ้นมาต่อสู้กับความยากจนให้หมดสิ้นไป ภายใต้การรณรงค์ที่มุ่งเน้นกระบวนการบริหารจัดการและกระบวนการกระจายอำนาจให้มีส่วนช่วยลดความยากจน ซึ่งทั้งสองกระบวนการอยู่ภายใต้การส่งเสริมของกระทรวงมหาดไทยและทีมงานขององค์การสหประชาชาติ ในประเทศไทย โดยให้ผู้บริหารระดับจังหวัด ท้องถิ่นและชุมชนเป็นแกนในการสนับสนุนให้ทุกภาคส่วนร่วมกันให้คำมั่นสัญญาว่าจะลดความยากจนและเป็นแกนหลักในการจัดกิจกรรมรณรงค์เพื่อขจัดความยากจน โดยเฉพาะครัวเรือนยากจนต้องร่วมกันประกาศเจตนารมณ์พร้อมเอาชนะความยากจนด้วยการดำรงชีวิตตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

กระทรวงมหาดไทย จึงได้จัดทำโครงการพร้อมใจกันลุกขึ้นมาต่อสู้กับความยากจน (Stand Up and Take Action) ขึ้น

2. วัตถุประสงค์

2.1 เพื่อปลุกกระแสให้คนจนลุกขึ้นต่อสู้เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนด้วยตนเอง

2.2 เพื่อผนึกกำลังของหน่วยราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และประชาชนในการแก้ไขปัญหาความยากจนร่วมกัน

2.3 เพื่อเผยแพร่ให้นานาชาติได้รับทราบกระบวนการพร้อมใจลุกขึ้นมาต่อสู้กับการแก้ไขปัญหาความยากจนของประเทศไทย

3. พื้นที่เป้าหมาย

75 จังหวัด

4. ระยะเวลา

เริ่มตั้งแต่วันที่ 17 ตุลาคม 2551 เป็นต้นไป

5. หน่วยงานที่รับผิดชอบ

5.1 กระทรวงมหาดไทย (สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย กรมการปกครอง กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย การประปาส่วนภูมิภาค กรมการพัฒนาชุมชน )

5.2 กระทรวงสาธารณสุข

5.3 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

5.4 กระทรวงพลังงาน

5.5 กระทรวงศึกษาธิการ

5.6 กระทรวงแรงงาน

5.7 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

5.8 สำนักนายกรัฐมนตรี (กรมประชาสัมพันธ์)

6. แนวทางการแก้ไขปัญหาความยากจน

6.1. ส่วนกลาง

- กระทรวงมหาดไทยร่วมกับองค์การสหประชาชาติ กำหนดกรอบทิศทาง และแผนการขับเคลื่อนงาน

- หน่วยงานสังกัดกระทรวงมหาดไทย จำนวน 5 หน่วยงานจะร่วมมือกันดำเนินงานตามโครงการ และหน่วยงานในกระทรวงตามภารกิจที่สำคัญ (สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย กรมการปกครอง กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรมการพัฒนาชุมชน)

- หน่วยงานสังกัดกระทรวง ทบวง กรมฯ ที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพลังงาน กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงแรงงาน และกรมประชาสัมพันธ์ จะร่วมมือกันสนับสนุนอย่างเต็มที่

6.2 ส่วนภูมิภาค

ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด บูรณาการและมอบหมายภารกิจหน่วยงานระดับจังหวัดที่เกี่ยวข้อง

7. กิจกรรมหลัก

7.1. กิจกรรมระดับจังหวัด

7.1.1 การประกาศคำมั่นสัญญา

เป็นกิจกรรมที่ ผวจ. หัวหน้าส่วนราชการ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด/ตำบล นายกเทศมนตรีกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน กรรมการหมู่บ้าน ผู้นำชุมชน ครัวเรือนยากจน ร่วมกันประกาศคำมั่นสัญญาที่จะร่วมกันลดความยากจน

-ภาคราชการจะร่วมมือกันสนับสนุนการแก้ปัญหาความยากจน

-ภาคประชาชน (ครัวเรือนเป้าหมาย) สัญญาว่าจะเปลี่ยนแปลงตัวเอง ขยัน ประหยัด อดออม

7.1.2 การจัดกิจกรรมเดินรณรงค์

เป็นกิจกรรมที่กลุ่มเป้าหมายคือนักเรียน นักศึกษา ผู้นำสตรี ร่วมกันจัดพาเหรดเดินธงสัญลักษณ์ แจกธงติดรถ/ ถือโปสเตอร์ประชาสัมพันธ์ เพื่อสร้างกระแสความตื่นตัว

7.1.3 คลินิกแก้จน

เป็นกิจกรรมที่ส่วนราชการจัดเพื่อให้บริการแก่กลุ่มเป้าหมายที่มาร่วมกิจกรรม คือ

คนจน คนว่างงาน และประชาชนทั่วไป ดังนี้

7.1.3.1 นิทรรศการ

หน่วยราชการจัดแสดงนิทรรศการ การแก้ไขปัญหาตามประเด็นเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ (Millennium Development Goals – MDGs) (สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สาธารณสุขจังหวัด พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด)

-เป้าหมายที่หนึ่ง : ขจัดความยากจนและความหิวโหย

-เป้าหมายที่สอง :ให้เด็กทุกคนได้รับการศึกษาระดับประถมศึกษา

-เป้าหมายที่สาม : ส่งเสริมบทบาทสตรีและความเท่าเทียมกันทางเพศ

-เป้าหมายที่สี่ : ลดอัตราการตายของเด็ก

-เป้าหมายที่ห้า: พัฒนาสุขภาพสตรีมีครรภ์

-เป้าหมายที่หก: ต่อสู้โรคเอดส์ มาเลเรีย และโรคสำคัญอื่น ๆ

-เป้าหมายที่เจ็ด: รักษาและจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

-เป้าหมายที่แปด: ส่งเสริมการเป็นหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาในประชาคมโลก

7.1.3.2 การแก้ไขปัญหาความยากจน

-สถานีสอนทำบัญชีครัวเรือน ครัวเรือนยากจนเป้าหมายฝึกการทำบัญชีครัวเรือนเพื่อวิเคราะห์ตัวเอง ทำแผนชีวิต ลดรายจ่ายเพิ่มรายได้(ตรวจบัญชีสหกรณ์จังหวัด)

-สถานีส่งเสริมการออม ครัวเรือนยากจนเรียนรู้และเข้าใจหลักการทำงานของกลุ่มออมทรัพย์ พร้อมที่จะเริ่มต้นการออมด้วยการเปิดบัญชีออมทรัพย์ จัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตในพื้นที่ที่ยังไม่มีกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต(กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต) (พัฒนาการจังหวัด)

-ตลาดนัดแรงงาน (แรงงานจังหวัด อุตสาหกรรมจังหวัด) เพื่อจัดหางานให้แก่คนจน

-ตลาดนัดสุขภาพ (โรงพยาบาล และสาธารณสุขจังหวัด)

-ตลาดนัดอาชีพ (พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัด วิทยาลัยการอาชีพ) ฝึกอาชีพระยะสั้น สามารถนำไปประกอบอาชีพได้

7.2. กิจกรรมระดับชุมชน (ตำบล)

7.2.1 การประกาศเจตนารมณ์ของครัวเรือนยากจน

-องค์การบริหารส่วนตำบล และส่วนราชการที่ปฏิบัติงานในตำบล ร่วมประกาศเจตนารมณ์ในการแก้ไขปัญหาความยากจนโดย

-คนจนประกาศเจตนารมณ์ลุกขึ้นมาต่อสู้เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน และประกาศว่าจะเปลี่ยนแปลงตนเองโดยลด ละ เลิก อบายมุข และจะขยัน ประหยัด อดออม ในการวางแผนชีวิต

-การจัดทำบัญชีครัวเรือนของครัวเรือนเป้าหมาย (ตรวจบัญชีสหกรณ์ ธกส. ออมสิน)

-กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต (พัฒนาชุมชน) จัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต และส่งเสริมให้ครัวเรือนยากจนสมัครเป็นสมาชิก

-ส่วนราชการ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อกำหนดสัตยาบันร่วมกันในการจัดทำเวทีประชาคม เพื่อวิเคราะห์ Family Folder ของครัวเรือนยากจน แล้วนำมาแก้ไขปัญหาความยากจน

7.2.2 การบริหารจัดการชุมชน

กิจกรรมการลงสัตยาบันระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับคณะกรรมการหมู่บ้าน/ชุมชน เพื่อแสดงความรับผิดชอบในฐานะกลไกการบริหารจัดการของรัฐบาลและท้องถิ่นจะร่วมกันทำหน้าที่ขจัดความยากจนของชุมชนให้หมดสิ้นไป

7.2.3 การระดมพลังชุมชน

กิจกรรมสำหรับประชาชนทั่วไปเพื่อให้ตระหนักถึงเรื่องสิ่งแวดล้อม สาธารณสุข

เช่น จัดกิจกรรมลดการใช้รถยนต์ ลดการใช้ถุงพลาสติก ระดมสิ่งของเหลือใช้จากคนรวยช่วยคนจน ปลูกพืชสมุนไพรใช้เพื่อสุขภาพ การฝึกซ้อมการอพยพในกรณีเกิดปัญหาอุบัติภัย

8. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

8.1. ทุกภาคส่วนร่วมมือกันขจัดปัญหาความยากจนให้หมดสิ้นไป

8.2. ครัวเรือนยากจนมีการพัฒนาตนเองและครอบครัว

8.3. ชุมชนมีศักยภาพสามารถดูแลและแก้ไขปัญหาครัวเรือนยากจนในชุมชนได้ตรงตามความต้องการ

8.4 ประชาสัมพันธ์ให้คนในชาติและนานาชาติได้รู้ถึงการแก้ไขปัญหาความยากจนของประเทศไทย

9. ผู้เสนอโครงการ……………………………………………………………………………………

(นายสุชาติ สุวรรณ)
รองอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน

10. ผู้ให้ความเห็นชอบโครงการ………………………………………………………………………

(นายปรีชา บุตรศรี)
อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน

11.ผู้อนุมัติโครงการ ............................................................................................................................
(..................................................)

ปลัดกระทรวงมหาดไทย